ระบบสุริยะชั้นใน


ระบบสุริยะชั้นใน เป็นชื่อดั้งเดิมของย่านอวกาศที่ประกอบด้วยกลุ่มดาวเคราะห์ใกล้โลกและแถบดาวเคราะห์น้อย มีส่วนประกอบหลักเป็นซิลิเกตกับโลหะ เทหวัตถุในระบบสุริยะชั้นในจะเกาะกลุ่มอยู่ด้วยกันและใกล้กับดวงอาทิตย์มาก รัศมีของย่านระบบสุริยะชั้นในนี้ยังสั้นกว่าระยะห่างจากดาวพฤหัสบดีไปดาวเสาร์เสียอีก

ดาวเคราะห์ชั้นใน ประกอบด้วย

·         ดาวพุธ (Mercury) คือดาวเคราะห์ที่อยูใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด และเป็ดาวเคราะ์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ดาวพุธไม่มีดาวบริวารของตัวเอง ซึ่งชั้นบรรยากาศของดาวพุธเบาบางมากจนแทบจะเรียกได้ว่าไม่มีบรรยากาศประกอบด้วยอะตอมที่ถูกลมสุริยะพัดพาขับไล่ไปจนเกือบหมด
·         ดาวศุกร์ (Venus) มีขนาดใกล้เคียงกับโลกและมีลักษณะคล้ายโลกมาก มีชั้นบรรยากาศ และมีหลักฐานแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยาภายในของดาว ทว่าดาวศุกร์แห้งแล้งกว่าโลกมาก ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุด ด้วยอุณหภูมิสูงกว่า 400 ํ C ซึงเป็นผลมาจากปริมาณแก๊สเรือนกระจกที่มีอยู่จำนวนมากในชั้นบรรยากาศ
·         โลก (Earth) เป็นดาวเคราห์ที่ค่อนข้างใหญ่และมีความหนาแน่นมากที่สุดในกลุ่มดาวเคราะห์ชั้นใน เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่พบว่ายังมีปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาอยู่ และเป็นดาวเคราะห์ที่ทราบว่ามีสิ่งมีชีวิต โลกเป็นดาวเคาระห์ที่มีน้ำมาก เป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากกลุ่มดาวเคราะห์ใกล้โลกทั้งหมด และเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียวที่ยังมีการเปลี่ยนแปลงของเปล์อกโลกอยู่ ในบรรยากาศมีออกซิเจนอิสระอยู่ถึง 21% โลกมีดาวเคราะห์บริวารหนึ่งดวง คือ ดวงจันทร์ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์บริวารขนาดใหญ่เพียงดวงเดียวในเขตระบบสุริยะชั้นใน
·         ดาวอังคาร (Mars) มีขนาดเล็กกว่าโลกและดาวศุกร์ มีชั้นบรรยากาศเจือจางที่เต็มไปด้วนคาร์บอนไดออกไซด์ พื้นผิวเต็มไปด้วยภูเขาไฟจำนวนมาก เช่น Olympus Mons และหุบเขาลึกชันมากมาย สีของดาวอังคารที่เราเห็นเป็นสีแดงเป็นเพราะสนิมที่มีอยู่ในพื้นดินอันเต็มไปด้วยเหล็ก ดาวอังคารมีดวงจันทร์บริวารขนาดเล็กสองดวง คือ ไดมอส กับไฟบอส